วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มัทนะพาธา ( ตำนานรักดอกกุหลาบ )

มัทนะพาธา
พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

ลักษณะคำประพันธ์ บทละครเรื่องมัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ แต่งด้วยฉันท์สลับกาพย์ ซึ่งถือว่าเป็นของแปลก แต่งยากและยังไม่เคยมีกวี คนใดแต่งมาก่อนจึงได้รับการยกย่องว่า เป็นบทละครพูดคำฉันท์ยอดเยี่ยม
วัตถุประสงค์ในการแต่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมี พระราชประสงค์เบื้องต้นเพื่อเป็นหนังสือกวีนิพนธ์สำหรับอ่านเท่านั้น แต่ มีผู้สนใจขอให้จัดแสดงละครจึงทรงนำมาใช้เป็นบทสำหรับเล่นละครพูด นอกจากนี้ได้ทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษแต่ไม่ทันเสร็จก็สวรรคตเสียก่อน

ที่มาของเรื่อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องมัทนะพาธาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยทรง พระราชนิพนธ์โครงเรื่องขึ้นด้วยจินตนาการของพระองค์เอง คำว่า มัทนะพาธา แปลว่า ความเจ็บหรือเดือดร้อนแห่งความรัก หรือได้ชื่อว่า เป็นตำนานแห่งดอกกุหลาบ บทละครพูดคำฉันท์มี ๕ องก์ และคณะ กรรมการวรรณคดีสโมสรมีมติให้หนังสือบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธาเป็น บทละครพูดคำฉันท์ยอดเยี่ยมเมื่อ

เนื้อเรื่องย่อ สุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางฟ้าชื่อมัทนา แต่นางไม่ได้รักตอบ เพราะอดีตชาติสุเทษณ์ได้เคยยกกองทัพไปทำลายบ้านเมืองของนางมัทนา และจับพระบิดาประหาร เมื่อนางมัทนาปฏิเสธความรัก สุเทษณ์จึงสาปให้เกิด เป็นดอกกุพชะกะ (ดอกกุหลาบ) ในคืนวันเพ็ญจึงจะเป็นคนได้ และเมื่อเกิด ความรักในบุรุษใดจึงจะไม่กลายเป็นดอกกุพชะกะอีกแต่จะได้รับความทุกข ์ จากรัก นางมัทนาจึงมาเกิดเป็นต้นกุพชะกะ ฤาษีกาละทรรศินมาพบจึง นำไป ไว้ในอาศรม นางมัทนาจะอยู่ปรนนิบัติพระฤาษีเยี่ยงบิดาทุกคืนวันเพ็ญต่อมา ท้าวชัยเสนเสด็จประพาสป่ามาพบนางมัทนาจึงเกิดความรักได้ขอนางมัทนา ต่อพระฤาษี ทั้งสองได้อภิเษกสมรส นางจัณฑีมเหสีเอกเกิดความหึงหวง จึงให้พระบิดายกทัพมาชิงเมือง ท้าวชัยเสนออกรบ ระหว่างนั้นนางจัณฑีทำ อุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าพระทัยผิดว่านางมัทนารักกับศุภางค์ทหารเอก จึงรับ สั่งให้นำไปประหารชีวิต แต่พราหมณ์โสมทัตได้ปล่อยนางมัทนาไป นางมัทนามีความทุกข์จากความรัก จึงทำพิธีขอพรต่อสุเทษณ์จอมเทพ สุเทษณ์ขอความรัก นางไม่ยอมจึงสาปให้นางเป็นต้นกุหลาบตลอดไป ต่อมา ท้าวชันเสนทราบความจริงจึงออกติดตามพบแต่ต้นกุพชะกะจึงนำมาไว้ใน พระราชวัง

คุณค่าที่ได้รับ -เป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นหนังสือ ยอดเยี่ยม ประเภทบทละครพูดคำฉันท์
- เป็นหนังสือที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนานก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ แก่ผู้อ่านได้ดี มีคำพูดที่เป็นคารมคมคายและเป็นคติธรรม

ที่มาของข้อมูล http://202.143.150.150/48144/muttana.html

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 

เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย[2]
ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก[3]
ที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org



ตัวละครสำคัญ
ชาวฟ้า
สุเทษณะเทพบุตร์: ผู้หลงรักนางมัทนาอย่างหมดหัวใจจนอาจจะกลายเป็นความลุ่มหลง อันเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฎกรรมแห่งความรักนี้ขึ้น

จิตระเสน: จิตระเสน หัวหน้าคนธรรพ์ ได้จัดแสดงการร่ายรำถวายแด่สุเทษณะเทพบุตร์  เพื่อหวังคลายความเศร้า ความทุกข์ของสุเทษณะเทพบุตร์ แต่ไม่เป็นผล

จิตระรถ: จิตระรถสาระถีคนเก่งได้ท่องเที่ยวไปในทุกที่และวาดรูปนางงามมากำนัลสุเทษณะเทพบุตร เพื่อหวังให้สุดเทษณะเทพบุตรได้พึงใจและลืมนางมัทนาต้นเหตุแห่งความเศร้าซึม

มายาวิน: วิทยาธร ผู้มีวิชาอาคมใช้เวทย์มนต์เรียกนางมัทนามาพบสุเทษณะเทพบุตร์ทั้งๆที่ยังหลับไหล อันเป็นบ่อเกิดแก่โทสะของสุเทษณะเทพบุตร์ต่อนางมัทนา

นางมัทนา: หญิงงามผู้เป็นเหยื่อของความรักที่นางไม่ได้ต้องการ

ชาวดิน
พระกาละทรรศิน : ฤาษีในป่าหิมมะวัน ผู้ที่ดูแลดอกกุหลาบมัทนาเยี่ยงบุตรี

โสมะทัต: หัวหน้าศิษย์ของพระกาละทรรศิน

นาค และ ศุน: ศิษย์ของพระกาละทรรศิน และเป็
นผู้พบดอกกุหลาบมัทนา

ท้าวชัยเสน: ราชาผู้ทรงครองเมืองรหัสตินาปุระ มีอัครมเหสีอยู่แล้ว แต่ก็ยังพึงใจนางมัทนา จนรับนางกลับวัง

พระนางจัณฑี: อัครมเหสีแห่งท้าวชัยเสน ที่น้อยอกน้อยใจผัว จนถึงขั้นอิจฉาริษยานางมัทนาอันเป็นเหตุให้นางออกอุบายชั่วร้ายทั้งต่อผัวและนางที่ผัวรัก

วิทูร: พราหมณ์หมอเสนห์ ผู้เป็นนักแสดงตัวเก่งที่ใส่ไคล้นางมัทนา

ศุภางค์: นายทหารคนสนิทของท้าวชัยเสน แม้ถูกใส่ความและถูกสั่งประหารชีวิตจากท้าวชัยเสน แต่ก็จงรักภักดิ์ดีจนชีวีหาไม่ในสนามรบ

นันทิวรรธนะ: อมาตย์ของท้าวชัยเสน จิตใจดีรักความยุติธรรม ได้ปล่อยศุภางค์ผู้บริสุทธ์ไป

ปริยัมวทา: นางกำนัลของท้าวชัยเสน จงรักภักดีทั้งต่อท้าวชัยเสนและนางมัทนา  นางอยู่กับนางมัทนาจนวินาทีสุดท้าย ก่อนที่นางมัทนาจะกลายร่างเป็นดอกกุหลาบตลอดกาล

อราลี: นางค่อมข้าหลวงพระนางจัณฑี

เกศินี: ข้าหลวงพระนางจัณฑี ผู้เป็นนักแสดงอีกคนในละครใส่ไคล้นางมัทนา

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=107910



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น